สภาพทั่วไป

สภาพทั่วไปจังหวัดกาฬสินธุ์           จังหวัดกาฬสินธุ์  ตั้งอยู่บริเวณตอนกลางของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ห่างจากกรุงเทพฯ  ประมาณ  519  กิโลเมตร  มีพื้นที่ 6,947 ตารางกิโลเมตร  หรือประมาณ  4.3  ล้านไร่   อยู่สูงกว่าระดับ  น้ำทะเลปานกลาง  100  –  300  เมตร  ฝนตกเฉลี่ย   1,400  มม./ปี   อุณหภูมิเฉลี่ยต่ำสุด   19    องศาเซลเชียส  และสูงสุด  31.9  องศา เซลเซียส  ภูมิประเทศเป็นป่าไม้  เทือกเขา  และเนินเขา  มีพื้นที่ราบที่ใช้ทางการเกษตรไม่มากนัก  สภาพดินมีศักยภาพทางการเกษตรปานกลาง  ประกอบด้วย  ดินไร่ซึ่งส่วนใหญ่  อยู่ด้านทิศเหนือและทิศตะวันออกของจังหวัด  ดินนาส่วนใหญ่อยู่ทางตอนล่างของจังหวัด  และดินไร่  คละดินนา กระจายทั่วไป  มีดินที่มีปัญหาคือ  ดินเค็มประมาณร้อยละ 10  ของพื้นที่ของจังหวัด  และดินทรายซึ่งอยู่กระจัดกระจายบริเวณซีกตะวันออกของจังหวัด   พื้นที่ถือครองทางการเกษตรมีประมาณ  2.3  ล้านไร่ ร้อยละ  65.2  เป็นที่นา  ร้อยละ  30.4   เป็นที่ไร่  ที่เหลือเป็นไม้ยืนต้นและพืชอื่น          กาฬสินธุ์ มีแหล่งน้ำธรรมชาติที่สำคัญ  ได้แก่  ลำน้ำปาว  ลำน้ำชี   และลำน้ำยัง  และยังมีลำห้วย […]

ตรา สัญลักษณ์ คำขวัญ

เป็นรูปบึงใหญ่ ตฤณชาติ และเมฆพยับฝน หมายถึง สัญลักษณ์ของความชุ่มชื่นและอุดมสมบูรณ์ของภูมิภาค ทิวเขาตรงแนวสุดขอบฟ้าคือแนว กั้นเขตแดนกับจังหวัดใกล้เคียง น้ำในบึงที่มีสีดำ เพื่อให้ตรงกับชื่อของจังหวัดกาฬสินธุ์ ตั้งเป็นเมืองเมื่อ พ.ศ.2336 เพราะมีชาวเมืองเวียงจันทร์อพยพมาตั้งบ้านเรือนอยู่มากที่บ้านสงเปลือยทางฝั่งตะวันออกของริมแม่น้ำปาว จังหวัดกาฬสินธุ์แยกตัวออกจากจังหวัดมหาสารคาม เมื่อ พ.ศ.2490 ใช้ชื่อย่อ กส คำขวัญประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ เมืองฟ้าแดดสงยาง  โปงลางเลิศล้ำ วัฒนธรรมผู้ไทย  ผ้าไหมแพรวา ผาเสวยภูพาน  มหาธารลำปาว ไดโนเสาร์สัตว์โลกล้านปี

ผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์

นายสมศักดิ์ สุวรรณสุจริตผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ นายสมศักดิ์ สุวรรณสุจริต     เป็นข้าราชการพลเรือนสามัญระดับ 10 ชื่อ – สกุล นายสมศักดิ์ สุวรรณสุจริตตำแหน่งปัจจุบัน ผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์วุฒิการศึกษา – ศศ.บ.(รัฐศาสตร์) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่– พบ.ม.(รัฐประศาสนศาสตร์) สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์– ร.ม. (การปกครอง) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์– ประกาศนียบัตรหลักสูตรการบริหารงานภาครัฐและกฎหมายมหาชน (สถาบันพระปกเกล้า)– ปริญญาบัตรการป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.) รุ่นที่48 (วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร) การศึกษาอบรม – หลักสูตรนายอำเภอ รุ่นที่ 30 (วิทยาลัยการปกครอง กรมการปกครอง)– หลักสูตรนักปกครองระดับสูง รุ่นที่ 32 (วิทยาลัยการปกครอง กรมการปกครอง)– หลักสูตรประกาศนียบัตรชั้นสูงการบริหารงานภาครัฐและกฎหมายมหาชน รุ่นที่ 2 (สถาบันพระปกเกล้า)– หลักสูตรการบริหารและพัฒนานักบริหาร (Graduate Research Institute of Policy Studies, Japan)– หลักสูตรการฝึกอบรมผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูงภาครัฐ ประวัติรับราชการ – เจ้าหน้าที่วิเคราะห์งานบุคคล 3 สำนักงาน ก.พ. (2521)– ปลัดอำเภอ […]