พระพิชัยอุดมเดช
พระพิชัยอุดมเดช เป็นชาวเมืองวัว เป็นมหาดเล็กเจ้าอนุวงศ์ ที่นครเวียงจันทน์ มียศเป็นหมื่นเดช แล้วสมัครไปอยู่กรุงเทพ ฯ ต่อมาเมื่อไทยทำศึกกับญวน และมีนโยบายจะเผด็จศึกยวน ให้สำเร็จโดยเร็ว จึงได้แต่งตั้งแม่ทัพนายกอง ไปกวาดต้อนเอาครอบครัว จากฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงให้มาอยู่ทางฝั่งขวาแม่น้ำโขง เพื่อตัดกำลังทางเสบียงอาหารของญวน หมื่นเดชผู้ชำนาญท้องที่เดิมของตนอยู่แล้ว ก็รับอาสาเป็นผู้นำกองทัพไทยไปกวาดต้อนครอบครัวชาวเมืองวัว ด้วยความดีความชอบครั้งนี้ หมื่นเดชจึงได้โปรดเกล้า ฯ ให้เป็น พระพิชัยอุดมเดช เจ้าเมืองภูแล่นช้าง ขึ้นต่อเมืองกาฬสินธุ์ พระพิชัยอุดมเดช ครองเมืองภูแล่นช้าง มาด้วยความสงบสุข จนถึงแก่กรรม เมื่อปี พ.ศ.๒๔๒๓ จากหนังสือ : วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญาจังหวัดกาฬสินธุ์
พระธิเบศร์วงศา (กอ)
พระธิเบศรวงศา (กอ) เป็นบุตรพระยากล้า (หาญดอกเลา) หลานพระยาคำพิทูรย์ (เจ้าฟ้าคำแดง) เจ้าเมืองน้อยอ้อยหนู (ปัจจุบันอยู่ในประเทศเวียดนาม ใกล้เมืองเดียนเบียนฟู พระยากล้าได้อพยพติดตามบิดาลงมาทางใต้ ในปี พ.ศ.๒๓๓๔ เข้าสวามิภักดิ์กับเจ้าอนุวงศ์ เจ้าเมืองเวียงจันทน์ ซึ่งได้มอบหมายให้ครองเมืองวัว (อยู่ทางทิศตะวันออกของอำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม) ส่งเครื่องบรรณาการต่อเมืองเวียงจันทน์ มีนามว่า พระยากล้า พระยากล้า ปกครองชาวผู้ไทยจนมีความสงบสุข เมื่อถึงแก่กรรมได้มีแย่งชิงอำนาจ พระธิเบศรวงศา (กอ) ผู้เป็นบุตรคนโตได้พาพรรคพวกอพยพมาทำมาหากินบนหลังภูพาน ต่อมาเห็นว่าเป็นทำเลไม่เหมาะ จึงได้อพยพลงมาจากหลังเขาได้พบกับลำน้ำใหญ่ (ลำน้ำยัง) และมีลำห้วยอีกหลายสาย เห็นว่าเหมาะแก่การทำมาหากิน และกุดน้ำที่พบมีใบเสมา แกะสลักเป็นลาย จึงถือเอานิมิตหมายอันนี้ ตั้งเป็นชื่อบ้านว่า กุดสิมนารายณ์ ในปี พ.ศ.๒๓๘๘ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้า ฯ ให้ยกฐานะบ้านกุดสิมนารายณ์ ขึ้นเป็นเมืองกุดสิมนารายณ์ และแต่งตั้งราชวงศ์กอ เป็นพระธิเบศร์วงศา เจ้าเมืองกุดสิมนารายณ์ คนแรก พระธิเบศร์วงศา (กอ) เป็นบรรพบุรุษของชาวผู้ไทย จังหวัดกาฬสินธุ์ ถึงแก่กรรมเมื่อปี พ.ศ.๒๔๐๕ จากหนังสือ : วัฒนธรรม […]
พระราษฎรบริหาร (เกษ)
พระราษฎรบริหาร (เกษ) เป็นบุตรท้าวโคตร ซึ่งเป็นราชวงศ์เมืองกาฬสินธุ์ เดิมท้าวเกษ เป็นราชวงศ์เมืองกาฬสินธุ์ ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.๒๔๐๙ ท้าวเกษได้กราบทูลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขอแยกเมืองไปตั้งตั้งเมืองใหม่ ณ ริมลำน้ำปาว ทางทิศใต้ของเมืองกาฬสินธุ์ ได้รับพระบรมราชานุญาตให้ตั้งเมืองขึ้น ชื่อว่าเมืองกระมาลาไสย (กมลาไสย) และได้โปรดเกล้า ฯ ให้ราชวงศ์เกษ เป็นพระราษฎรบริหาร เจ้าเมืองกมลาไสยคนแรก มีเมืองบริวารหลายเมือง เช่น เมืองสหัสขันธ์ และเมืองกุดสิมนารายณ์ จากหนังสือ : วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญาจังหวัดกาฬสินธุ์
พระอรรถเปศลสรวดี
พระอรรถ เปศลสรวดี (เจริญ ทรัพยสาร) เกิดเมื่อปี พ.ศ.๒๔๒๒ เป็นชาวกรุงเทพ ฯ ได้ดำรงตำแหน่งข้าหลวงประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ คนที่ ๑๗ เมื่อกาฬสินธุ์ถูกยุบเป็นอำเภอ ขึ้นกับจังหวัดมหาสารคาม ท่านก็ย้ายไปดำรงตำแหน่งข้าหลวงประจำจังหวัดมหาสารคาม ในเวลาต่อมาได้ลาออกจากราชการกลับมาใช้ชีวิตอยู่ที่กาฬสินธุ์อีกครั้ง จนถึงแก่อนิจกรรม เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๑ รวมอายุได้ ๗๘ ปี พระอรรถ เปศลสรวดี ขณะที่ดำรงตำแหน่งข้าหลวงประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ ได้พัฒนาสร้างคุณประโยชน์ นำความเจริญมาสู่จังหวัดกาฬสินธุ์เป็นอันมากมาย ซึ่งพอประมวลได้ดังนี้เป็นผู้ริเริ่มให้สร้างสุขศาลาเป็นครั้งแรกสร้างโรงเรียนประจำจังหวัดตัดถนนหนทางหลายสายสร้างสะพานเสิงปักดอก ซึ่งเป็นสะพานไม้ที่ยาวที่สุดของภาคอีสาน ยาวประมาณ ๑ กิโลเมตร ในการก่อสร้างถาวรวัตถุต่าง ๆ แทบจะไม่ได้ใช้งบประมาณของทางราชการ แต่ได้ใช้วิธีขอร้องจากกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และชาวเมืองทั้งหลายให้ช่วยกันสนับสนุน จากหนังสือ : วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญาจังหวัดกาฬสินธุ์
พระยาไชยสุนทร
พระยาไชยสุนทร (ท้าวโสมพะมิต) เกิดเมื่อประมาณ ปี พ.ศ.๒๒๗๕ บิดาเป็นโอรสของพระเจ้าไชยองค์เว้ มารดาเป็นหลานสาวของเจ้าผ้าขาว รับราชการในราชสำนักนครเวียงจันทน์ จนได้เป็นพญาโสมพะมิต เมื่อปี พ.ศ.๒๓๒๐ พญาโสมพะมิตและอุปฮาดเมืองแสนฆ้องโปง เมืองแสนหน้าง้ำ ได้เกิดความความขัดแยังกับพระศิริบุญสาร ผู้ครองนครเวียงจันทน์ จึงรวบรวมผู้คนเป็นสมัครพรรคพวกประมาณหนึ่งหมื่นคน เดินทางข้ามแม่น้ำโขงมาตั้งชุมชนที่บ้านผ้าขาว บ้านพันนา บริเวณพระธาตุเชิงชุม ในจังหวัดสกลนคร ปัจจุบัน เจ้าศิริบุญสารยกกองทัพติดตามมา เพื่อนำผู้คนเหล่านี้กลับเวียงจันทน์ ท้าวโสมพะมิต จึงได้พาผู้ครอพยพข้ามสันเขาภูพาน ลงมาทางใต้มาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านกลางหมื่นได้ปีเศษ แล้วจึงได้อพยพไปตั้งบ้านเมืองที่แก่งสำโรง ดงสงเปือย ริมฝั่งลำน้ำปาว เมื่อปี พ.ศ.๒๓๒๕ ในปี พ.ศ.๒๓๒๖ ท้าวโสมพะมิต ได้เดินทางเข้ากรุงเทพ ฯ ได้เฝ้าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ขอพระราชทานนามเมือง และได้รับโปรดเกล้า ฯ ให้ยกฐานะบ้านแก่งสำโรง ขึ้นเป็นเมืองกาฬสินธุ์ ให้ท้าวโสมพะมิตเป็น พระยาไชยสุนทร เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ คนแรก พระยาไชยสุนทร ปกครองเมืองกาฬสินธุ์ มาจนถึงปี พ.ศ.๒๓๔๕ จึงมอบราชการงานเมืองให้ ท้าวหมาแพง ดูแลแทนต่อไป จากหนังสือ : วัฒนธรรม […]