พาเที่ยวพิพิธภัณฑ์สิรินธร กาฬสินธุ์ เมืองไดโนเสาร์

พาเที่ยวพิพิธภัณฑ์สิรินธร กาฬสินธุ์ เมืองไดโนเสาร์ การมาเที่ยวกาฬสินธุ์นั้น แน่นอนว่าท่านจะได้เจอกับสภาพแวดล้อมที่สัตว์ดึกดำบรรพ์อย่างไดโนเสาร์อาศัยอยู่ ท่านจะได้ทราบว่าไดโนเสาร์สามารถที่จะปรับตัวอยู่ในสภาพแวดล้อมในอดีตได้อย่างไร เนื่องจากกาฬสินธุ์เป็นจังหวัดที่มีการขุดพบซากไดโนเสาร์และมีโครงกระดูกไดโนเสาร์ที่มีความสมบูรณ์มากเป็นอันดับต้นๆของโลก ช่วยดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วทุกมุมโลกที่กำลังสนใจเรื่องราวเกี่ยวกับไดโนเสาร์และอยากรู้ว่าไดโนเสาร์นั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร ทุกคนสามารถเข้ามาศึกษาเรื่องราวของสถานที่ขุดพบไดโนเสาร์ และยังสามารถได้เรียนรู้สภาพแวดล้อมเก่าแก่ ซึ่งทางจังหวัดจัดให้มีมาตรการในการป้องกันไม่ให้มีการเข้าถึงที่แห่งนี้ เพราะต้องการอนุรักษ์ไว้ให้คนยุคใหม่ได้ชม โดยเราสามารถไปชมสถานที่ต่างๆในจังหวัด รวมทั้งพิพิธภัณฑ์สิรินธร ที่มีการแสดงโชว์โครงกระดูกและซากไดโนเสาร์ที่มีการขุดพบ ดังนั้นการมาเที่ยวกาฬสินธุ์นั้น รับรองได้เลยว่าท่านจะได้รับชมซากไดโนเสาร์ที่มีความสมบูรณ์ รับรองได้เลยว่าไม่ทำให้ท่านผิดหวังแน่ๆ ความน่าสนใจของพิพิธภัณฑ์สิรินธร พิพิธภัณฑ์สิรินธรจัดเป็นพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ที่มีความน่าสนใจมากๆ โดยตั้งอยู่ในอำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งได้รวบรวมการขุดพบของโครงกระดูกไดโนเสาร์และซากไดโนเสาร์เอาไว้ เพื่อให้คนที่เข้ามาเที่ยวในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ได้รับชม ซึ่งมีการเก็บโครงสร้างของการขุดพบเอาไว้ค่อนข้างสมบูรณ์มากๆ คนที่สนใจมาเที่ยวและคนที่ต้องการมาศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับไดโนเสาร์นั้นไม่ผิดหวังแน่ๆ โดยมีการรวบรวมทั้งไดโนเสาร์ที่เป็นสายพันธุ์กินพืชและสายพันธุ์กินเนื้อเอาไว้ด้วยกัน เราจึงสามารถเลือกชมและศึกษาไดโนเสาร์ได้หลากหลายสายพันธุ์ การจัดโชว์ไดโนเสาร์ของพิพิธภัณฑ์สิรินธรนั้น จะเป็นการโชว์โครงสร้างจำลองที่มีการจำลองได้วัสดุที่มีความเหมือนและคล้ายคลึงโครงกระดูกไดโนเสาร์ที่มีการขุดพบอย่างมาก ทำให้ผู้ที่มาเที่ยวไม่ผิดหวัง เพราะว่าได้ชมโครงสร้างที่เสมือนจริง สำหรับคนที่เป็นนักเรียนนักศึกษากำลังศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับไดโนเสาร์ ยังสามารถขอให้ทางพิพิธภัณฑ์มาไปชมโครงสร้างไดโนเสาร์ของจริงได้เช่นกัน ทางพิพิธภัณฑ์จะมีเจ้าหน้าที่พาไปดู เพื่อช่วยให้ท่านได้เรียนรู้ลักษณะของซากไดโนเสาร์ที่มีการขุดพบขึ้นมา แม้ว่าการขุดพบซากไดโนเสาร์นั้นจะเป็นสิ่งที่ทำให้คนไทยและคนทั่วโลกให้ความสนใจมาเที่ยวชมและศึกษาสภาพแวดล้อมของจังหวัดกาฬสินธุ์เป็นอย่างมาก เพราะทุกคนต้องการทราบว่าภูมิประเทศเป็นอย่างไร ทำไมจึงเอื้ออำนวยต่อการอยู่อาศัยของไดโนเสาร์ แต่จังหวัดกาฬสินธุ์ยังมีความน่าสนใจอีกหลายๆอย่าง มีสถานที่เที่ยวเก่าแก่นับพันปี มีการค้นพบเมืองโบราณที่บรรพบุรุษของเราไปสร้างเอาไว้เป็นที่หลบไป ดังนั้นมาเที่ยวพิพิธภัณฑ์สิรินธรกันแล้ว ท่านก็สามารถแวะไปเที่ยวที่อื่นๆต่อไป

เที่ยวชมป่าสิริเจริญวรรษ สัตหีบ ชลบุรี

เที่ยวชมป่าสิริเจริญวรรษ สัตหีบ ชลบุรี การเที่ยวพักผ่อนที่ดีนั้น ควรช่วยให้เราหายเหนื่อยล้าจากการเที่ยวด้วย ไม่ใช่ว่าไปเที่ยวทั้งทีกลับมาหน้าดำเคร่งเครียดหรือเหนื่อยกว่าเดิม เพราะหากไปเที่ยวมาแล้วรู้สึกว่าเหนื่อยกว่าเดิม สภาพร่างกายโทรมกว่าเดิม ก็ไม่รู้ว่าจะเรียกว่าเป็นการไปเที่ยวพักผ่อนได้อย่างดี ทางที่ดีในการไปเที่ยวคือเราจะต้องได้พักผ่อนควบคู่กับการได้เที่ยวชมสิ่งใหม่ๆได้จริง ซึ่งทางเลือกสำหรับการไปเที่ยวพักผ่อนที่จะช่วยผ่อนคลายความเหนื่อยล้าได้จริวนั้น จะต้องเป็นการเที่ยวเชิงธรรมชาติ ที่เน้นการไปชมความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติหรือเน้นการไปชมศิลปวัฒนธรรมที่จะช่วยให้เรามีแรงบันดาลใจกลับมาทำงานได้ดียิ่งขึ้น หนึ่งในที่เที่ยวทางธรรมชาติที่มีการผสมผสานวัฒนธรรมลงไปนั่นก็คือป่าสิริเจริญวรรษ ที่ตั้งอยู่อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี บทความนี้เราจะช่วยให้ท่านเข้าถึงสถานที่แห่งนี้มากขึ้นและหาโอกาสมาเที่ยวที่นี่กัน รู้จักป่าสิริเจริญวรรษให้มากขึ้น ป่าสิริเจริญวรรษ เป็นสถานที่ที่ประกอบด้วยพื้นที่ธรรมชาติ เป็นผืนป่าที่มีธรรมชาติสีเขียว มีอากาศที่บริสุทธิ์มากๆ ช่วยให้เราได้มาเที่ยวผ่อนคลายและรู้สึกคลายเครียดจากการมาเที่ยวที่นี่ เราจึงมีความสุขกับการมาเที่ยวที่นี่กันมากขึ้น เพราะเมื่อมาเที่ยวที่นี่ จะช่วยให้เราได้ผ่อนคลายการทำงานหนักมาทั้งปี ยิ่งคนที่เหนื่อยมากๆ แนะนำว่าให้มาพักผ่อนและเดินชมป่าแห่งนี้สักระยะ บอกเลยว่าจะช่วยฟอกปอดให้มีแต่ออกซิเจนและกระตุ้นระบบไหลเวียนเลือดในร่างกาย ให้คุณกลับมาแข็งแรง พร้อมที่จะกลับไปทำงานได้อีกครั้ง แถมในป่าแห่งนี้ยังมีสิ่งปลูกสร้างที่เป็นวัดวาอาราม เรียกได้ว่ามีการผสมผสานระหว่างความเป็นธรรมชาติและวัฒนธรรมเข้ากันได้อย่างลงตัวมากๆ ดังนั้นนอกจากที่ท่านจะได้รับชมป่าสิริเจริญวรรษอย่างมีความสุขแล้ว ท่านก็หาแรงบันดาลใจได้จากสิ่งปลูกสร้างทางศาสนาที่เน้นการออกแบบเป็นแบบวัดป่าที่หาชมได้ยากในประเทศไทย เพราะเป็นวัดป่าที่อุดมสมบูรณ์ สามารถช่วยให้คนมาพักอาศัยอยู่ที่นี่ได้จริง โดยที่ไม่ต้องใช้เงิน เพราะสามารถหาแหล่งอาหารจากธรรมชาติได้ มีทั้งพืชพันธุ์ผลไม้จากป่า รวมถึงมีปลาในบึงอีกด้วย เรียกได้ว่าอาหารครบ อยู่ทั้งชีวิตก็ไม่อดตาย โครงการป่าสิริเจริญวรรษนั้นเป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จึงมีการอนุรักษ์พันธุ์ไม้ต่างๆเอาไว้เป็นอย่างดี และมีการยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง ให้ท่านที่กำลังสนใจเรื่องนี้อยู่สามารถเข้ามายึดหลักปฏิบัติตามในหลวงรัชกาลที่ 9 ได้ เพราะพระองค์รับสั่งให้มีการปรับพื้นที่ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้คนที่มาเยี่ยมชมได้เรียนรู้พื้นที่นี้ควบคู่ไปด้วย

ใบเสมาเมืองฟ้าแดดสงยาง

ใบเสมาที่ขุดได้ในเมืองฟ้าแดด มี 6 ชนิดด้วยกันคือ 1. ใบเสมาแผ่นเรียบ 2. ใบเสมามีสันตรงกลาง 3. ใบเสมามีสถูปเจดีย์ 4. ใบเสมาเสาสี่เหลี่ยมด้านเท่า 5. ใบเสมาเสาแปดเหลี่ยม 6. ใบเสมาภาพเล่าเรื่อง สำหรับใบเสมาที่ค้นพบในเมืองฟ้าแดดปัจจุบันได้นำไปเก็บ ไว้หลายแห่ง  คือ 1. พิพิธภัณฑ์ขอนแก่น 2. พระธาตุยาคู 3. วัดโพธิ์ชัยเสมาราม 4. ศาลหลักเมืองกาฬสินธุ์ 5. วัดเหนือ อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์      การศึกษาใบเสมาส่วนใหญ่นักวิชาการจะทำการศึกษาเฉพาะ  ใบเสมาประเภทที่ 6 ที่มีภาพประกอบที่มา :  หนังสือเมืองฟ้าแดดสงยาง เมืองทราวดีในอีสาน ผู้ให้ทุน เทศบาลตำบลหนองแปน อ.กมลาไสย จ.กาฬสินธุ์           ผู้เขียน  อาจารย์ไชยยศ  วันอุทา   (2548) ข้อมูลวิชาการ และ การอนุญาตให้เผยแพร่จาก อ.ไชยยศ  วันอุทา แหล่งข้อมูล  เทศบาลตำบลหนองแปน

พระพิชัยอุดมเดช

พระพิชัยอุดมเดช   เป็นชาวเมืองวัว เป็นมหาดเล็กเจ้าอนุวงศ์ ที่นครเวียงจันทน์ มียศเป็นหมื่นเดช แล้วสมัครไปอยู่กรุงเทพ ฯ ต่อมาเมื่อไทยทำศึกกับญวน และมีนโยบายจะเผด็จศึกยวน ให้สำเร็จโดยเร็ว จึงได้แต่งตั้งแม่ทัพนายกอง ไปกวาดต้อนเอาครอบครัว จากฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงให้มาอยู่ทางฝั่งขวาแม่น้ำโขง เพื่อตัดกำลังทางเสบียงอาหารของญวน หมื่นเดชผู้ชำนาญท้องที่เดิมของตนอยู่แล้ว ก็รับอาสาเป็นผู้นำกองทัพไทยไปกวาดต้อนครอบครัวชาวเมืองวัว ด้วยความดีความชอบครั้งนี้ หมื่นเดชจึงได้โปรดเกล้า ฯ ให้เป็น พระพิชัยอุดมเดช เจ้าเมืองภูแล่นช้าง ขึ้นต่อเมืองกาฬสินธุ์ พระพิชัยอุดมเดช  ครองเมืองภูแล่นช้าง มาด้วยความสงบสุข จนถึงแก่กรรม เมื่อปี พ.ศ.๒๔๒๓ จากหนังสือ : วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญาจังหวัดกาฬสินธุ์

พระธิเบศร์วงศา (กอ)

พระธิเบศรวงศา (กอ) เป็นบุตรพระยากล้า (หาญดอกเลา)  หลานพระยาคำพิทูรย์ (เจ้าฟ้าคำแดง) เจ้าเมืองน้อยอ้อยหนู (ปัจจุบันอยู่ในประเทศเวียดนาม ใกล้เมืองเดียนเบียนฟู พระยากล้าได้อพยพติดตามบิดาลงมาทางใต้ ในปี พ.ศ.๒๓๓๔ เข้าสวามิภักดิ์กับเจ้าอนุวงศ์ เจ้าเมืองเวียงจันทน์ ซึ่งได้มอบหมายให้ครองเมืองวัว (อยู่ทางทิศตะวันออกของอำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม)  ส่งเครื่องบรรณาการต่อเมืองเวียงจันทน์ มีนามว่า พระยากล้า พระยากล้า ปกครองชาวผู้ไทยจนมีความสงบสุข เมื่อถึงแก่กรรมได้มีแย่งชิงอำนาจ พระธิเบศรวงศา (กอ) ผู้เป็นบุตรคนโตได้พาพรรคพวกอพยพมาทำมาหากินบนหลังภูพาน ต่อมาเห็นว่าเป็นทำเลไม่เหมาะ จึงได้อพยพลงมาจากหลังเขาได้พบกับลำน้ำใหญ่ (ลำน้ำยัง) และมีลำห้วยอีกหลายสาย เห็นว่าเหมาะแก่การทำมาหากิน และกุดน้ำที่พบมีใบเสมา แกะสลักเป็นลาย จึงถือเอานิมิตหมายอันนี้ ตั้งเป็นชื่อบ้านว่า กุดสิมนารายณ์ ในปี พ.ศ.๒๓๘๘  พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้า ฯ ให้ยกฐานะบ้านกุดสิมนารายณ์ ขึ้นเป็นเมืองกุดสิมนารายณ์ และแต่งตั้งราชวงศ์กอ เป็นพระธิเบศร์วงศา เจ้าเมืองกุดสิมนารายณ์  คนแรก พระธิเบศร์วงศา (กอ)  เป็นบรรพบุรุษของชาวผู้ไทย จังหวัดกาฬสินธุ์ ถึงแก่กรรมเมื่อปี พ.ศ.๒๔๐๕ จากหนังสือ : วัฒนธรรม […]

พระราษฎรบริหาร (เกษ)

พระราษฎรบริหาร (เกษ) เป็นบุตรท้าวโคตร ซึ่งเป็นราชวงศ์เมืองกาฬสินธุ์ เดิมท้าวเกษ เป็นราชวงศ์เมืองกาฬสินธุ์ ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.๒๔๐๙  ท้าวเกษได้กราบทูลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขอแยกเมืองไปตั้งตั้งเมืองใหม่ ณ ริมลำน้ำปาว ทางทิศใต้ของเมืองกาฬสินธุ์ ได้รับพระบรมราชานุญาตให้ตั้งเมืองขึ้น ชื่อว่าเมืองกระมาลาไสย (กมลาไสย)  และได้โปรดเกล้า ฯ ให้ราชวงศ์เกษ เป็นพระราษฎรบริหาร เจ้าเมืองกมลาไสยคนแรก มีเมืองบริวารหลายเมือง เช่น เมืองสหัสขันธ์ และเมืองกุดสิมนารายณ์ จากหนังสือ : วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญาจังหวัดกาฬสินธุ์

พระอรรถเปศลสรวดี

พระอรรถ เปศลสรวดี (เจริญ ทรัพยสาร) เกิดเมื่อปี พ.ศ.๒๔๒๒  เป็นชาวกรุงเทพ ฯ ได้ดำรงตำแหน่งข้าหลวงประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ คนที่ ๑๗  เมื่อกาฬสินธุ์ถูกยุบเป็นอำเภอ ขึ้นกับจังหวัดมหาสารคาม  ท่านก็ย้ายไปดำรงตำแหน่งข้าหลวงประจำจังหวัดมหาสารคาม  ในเวลาต่อมาได้ลาออกจากราชการกลับมาใช้ชีวิตอยู่ที่กาฬสินธุ์อีกครั้ง  จนถึงแก่อนิจกรรม เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๑  รวมอายุได้ ๗๘ ปี พระอรรถ เปศลสรวดี ขณะที่ดำรงตำแหน่งข้าหลวงประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ ได้พัฒนาสร้างคุณประโยชน์ นำความเจริญมาสู่จังหวัดกาฬสินธุ์เป็นอันมากมาย ซึ่งพอประมวลได้ดังนี้เป็นผู้ริเริ่มให้สร้างสุขศาลาเป็นครั้งแรกสร้างโรงเรียนประจำจังหวัดตัดถนนหนทางหลายสายสร้างสะพานเสิงปักดอก ซึ่งเป็นสะพานไม้ที่ยาวที่สุดของภาคอีสาน ยาวประมาณ ๑ กิโลเมตร ในการก่อสร้างถาวรวัตถุต่าง ๆ แทบจะไม่ได้ใช้งบประมาณของทางราชการ แต่ได้ใช้วิธีขอร้องจากกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และชาวเมืองทั้งหลายให้ช่วยกันสนับสนุน จากหนังสือ : วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญาจังหวัดกาฬสินธุ์

พระยาไชยสุนทร

พระยาไชยสุนทร (ท้าวโสมพะมิต) เกิดเมื่อประมาณ ปี พ.ศ.๒๒๗๕  บิดาเป็นโอรสของพระเจ้าไชยองค์เว้ มารดาเป็นหลานสาวของเจ้าผ้าขาว รับราชการในราชสำนักนครเวียงจันทน์ จนได้เป็นพญาโสมพะมิต เมื่อปี พ.ศ.๒๓๒๐  พญาโสมพะมิตและอุปฮาดเมืองแสนฆ้องโปง เมืองแสนหน้าง้ำ ได้เกิดความความขัดแยังกับพระศิริบุญสาร ผู้ครองนครเวียงจันทน์ จึงรวบรวมผู้คนเป็นสมัครพรรคพวกประมาณหนึ่งหมื่นคน เดินทางข้ามแม่น้ำโขงมาตั้งชุมชนที่บ้านผ้าขาว บ้านพันนา  บริเวณพระธาตุเชิงชุม ในจังหวัดสกลนคร ปัจจุบัน เจ้าศิริบุญสารยกกองทัพติดตามมา เพื่อนำผู้คนเหล่านี้กลับเวียงจันทน์ ท้าวโสมพะมิต จึงได้พาผู้ครอพยพข้ามสันเขาภูพาน ลงมาทางใต้มาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านกลางหมื่นได้ปีเศษ แล้วจึงได้อพยพไปตั้งบ้านเมืองที่แก่งสำโรง  ดงสงเปือย ริมฝั่งลำน้ำปาว เมื่อปี พ.ศ.๒๓๒๕ ในปี พ.ศ.๒๓๒๖ ท้าวโสมพะมิต ได้เดินทางเข้ากรุงเทพ ฯ ได้เฝ้าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ขอพระราชทานนามเมือง และได้รับโปรดเกล้า ฯ ให้ยกฐานะบ้านแก่งสำโรง ขึ้นเป็นเมืองกาฬสินธุ์ ให้ท้าวโสมพะมิตเป็น พระยาไชยสุนทร เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ คนแรก พระยาไชยสุนทร ปกครองเมืองกาฬสินธุ์ มาจนถึงปี พ.ศ.๒๓๔๕  จึงมอบราชการงานเมืองให้ ท้าวหมาแพง ดูแลแทนต่อไป จากหนังสือ : วัฒนธรรม […]

สภาพทั่วไป

สภาพทั่วไปจังหวัดกาฬสินธุ์           จังหวัดกาฬสินธุ์  ตั้งอยู่บริเวณตอนกลางของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ห่างจากกรุงเทพฯ  ประมาณ  519  กิโลเมตร  มีพื้นที่ 6,947 ตารางกิโลเมตร  หรือประมาณ  4.3  ล้านไร่   อยู่สูงกว่าระดับ  น้ำทะเลปานกลาง  100  –  300  เมตร  ฝนตกเฉลี่ย   1,400  มม./ปี   อุณหภูมิเฉลี่ยต่ำสุด   19    องศาเซลเชียส  และสูงสุด  31.9  องศา เซลเซียส  ภูมิประเทศเป็นป่าไม้  เทือกเขา  และเนินเขา  มีพื้นที่ราบที่ใช้ทางการเกษตรไม่มากนัก  สภาพดินมีศักยภาพทางการเกษตรปานกลาง  ประกอบด้วย  ดินไร่ซึ่งส่วนใหญ่  อยู่ด้านทิศเหนือและทิศตะวันออกของจังหวัด  ดินนาส่วนใหญ่อยู่ทางตอนล่างของจังหวัด  และดินไร่  คละดินนา กระจายทั่วไป  มีดินที่มีปัญหาคือ  ดินเค็มประมาณร้อยละ 10  ของพื้นที่ของจังหวัด  และดินทรายซึ่งอยู่กระจัดกระจายบริเวณซีกตะวันออกของจังหวัด   พื้นที่ถือครองทางการเกษตรมีประมาณ  2.3  ล้านไร่ ร้อยละ  65.2  เป็นที่นา  ร้อยละ  30.4   เป็นที่ไร่  ที่เหลือเป็นไม้ยืนต้นและพืชอื่น          กาฬสินธุ์ มีแหล่งน้ำธรรมชาติที่สำคัญ  ได้แก่  ลำน้ำปาว  ลำน้ำชี   และลำน้ำยัง  และยังมีลำห้วย […]

ตรา สัญลักษณ์ คำขวัญ

เป็นรูปบึงใหญ่ ตฤณชาติ และเมฆพยับฝน หมายถึง สัญลักษณ์ของความชุ่มชื่นและอุดมสมบูรณ์ของภูมิภาค ทิวเขาตรงแนวสุดขอบฟ้าคือแนว กั้นเขตแดนกับจังหวัดใกล้เคียง น้ำในบึงที่มีสีดำ เพื่อให้ตรงกับชื่อของจังหวัดกาฬสินธุ์ ตั้งเป็นเมืองเมื่อ พ.ศ.2336 เพราะมีชาวเมืองเวียงจันทร์อพยพมาตั้งบ้านเรือนอยู่มากที่บ้านสงเปลือยทางฝั่งตะวันออกของริมแม่น้ำปาว จังหวัดกาฬสินธุ์แยกตัวออกจากจังหวัดมหาสารคาม เมื่อ พ.ศ.2490 ใช้ชื่อย่อ กส คำขวัญประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ เมืองฟ้าแดดสงยาง  โปงลางเลิศล้ำ วัฒนธรรมผู้ไทย  ผ้าไหมแพรวา ผาเสวยภูพาน  มหาธารลำปาว ไดโนเสาร์สัตว์โลกล้านปี