ใบเสมาเมืองฟ้าแดดสงยาง

ใบเสมาที่ขุดได้ในเมืองฟ้าแดด มี 6 ชนิดด้วยกันคือ 1. ใบเสมาแผ่นเรียบ 2. ใบเสมามีสันตรงกลาง 3. ใบเสมามีสถูปเจดีย์ 4. ใบเสมาเสาสี่เหลี่ยมด้านเท่า 5. ใบเสมาเสาแปดเหลี่ยม 6. ใบเสมาภาพเล่าเรื่อง สำหรับใบเสมาที่ค้นพบในเมืองฟ้าแดดปัจจุบันได้นำไปเก็บ ไว้หลายแห่ง  คือ 1. พิพิธภัณฑ์ขอนแก่น 2. พระธาตุยาคู 3. วัดโพธิ์ชัยเสมาราม 4. ศาลหลักเมืองกาฬสินธุ์ 5. วัดเหนือ อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์      การศึกษาใบเสมาส่วนใหญ่นักวิชาการจะทำการศึกษาเฉพาะ  ใบเสมาประเภทที่ 6 ที่มีภาพประกอบที่มา :  หนังสือเมืองฟ้าแดดสงยาง เมืองทราวดีในอีสาน ผู้ให้ทุน เทศบาลตำบลหนองแปน อ.กมลาไสย จ.กาฬสินธุ์           ผู้เขียน  อาจารย์ไชยยศ  วันอุทา   (2548) ข้อมูลวิชาการ และ การอนุญาตให้เผยแพร่จาก อ.ไชยยศ  วันอุทา แหล่งข้อมูล  เทศบาลตำบลหนองแปน

พระพิชัยอุดมเดช

พระพิชัยอุดมเดช   เป็นชาวเมืองวัว เป็นมหาดเล็กเจ้าอนุวงศ์ ที่นครเวียงจันทน์ มียศเป็นหมื่นเดช แล้วสมัครไปอยู่กรุงเทพ ฯ ต่อมาเมื่อไทยทำศึกกับญวน และมีนโยบายจะเผด็จศึกยวน ให้สำเร็จโดยเร็ว จึงได้แต่งตั้งแม่ทัพนายกอง ไปกวาดต้อนเอาครอบครัว จากฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงให้มาอยู่ทางฝั่งขวาแม่น้ำโขง เพื่อตัดกำลังทางเสบียงอาหารของญวน หมื่นเดชผู้ชำนาญท้องที่เดิมของตนอยู่แล้ว ก็รับอาสาเป็นผู้นำกองทัพไทยไปกวาดต้อนครอบครัวชาวเมืองวัว ด้วยความดีความชอบครั้งนี้ หมื่นเดชจึงได้โปรดเกล้า ฯ ให้เป็น พระพิชัยอุดมเดช เจ้าเมืองภูแล่นช้าง ขึ้นต่อเมืองกาฬสินธุ์ พระพิชัยอุดมเดช  ครองเมืองภูแล่นช้าง มาด้วยความสงบสุข จนถึงแก่กรรม เมื่อปี พ.ศ.๒๔๒๓ จากหนังสือ : วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญาจังหวัดกาฬสินธุ์

พระธิเบศร์วงศา (กอ)

พระธิเบศรวงศา (กอ) เป็นบุตรพระยากล้า (หาญดอกเลา)  หลานพระยาคำพิทูรย์ (เจ้าฟ้าคำแดง) เจ้าเมืองน้อยอ้อยหนู (ปัจจุบันอยู่ในประเทศเวียดนาม ใกล้เมืองเดียนเบียนฟู พระยากล้าได้อพยพติดตามบิดาลงมาทางใต้ ในปี พ.ศ.๒๓๓๔ เข้าสวามิภักดิ์กับเจ้าอนุวงศ์ เจ้าเมืองเวียงจันทน์ ซึ่งได้มอบหมายให้ครองเมืองวัว (อยู่ทางทิศตะวันออกของอำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม)  ส่งเครื่องบรรณาการต่อเมืองเวียงจันทน์ มีนามว่า พระยากล้า พระยากล้า ปกครองชาวผู้ไทยจนมีความสงบสุข เมื่อถึงแก่กรรมได้มีแย่งชิงอำนาจ พระธิเบศรวงศา (กอ) ผู้เป็นบุตรคนโตได้พาพรรคพวกอพยพมาทำมาหากินบนหลังภูพาน ต่อมาเห็นว่าเป็นทำเลไม่เหมาะ จึงได้อพยพลงมาจากหลังเขาได้พบกับลำน้ำใหญ่ (ลำน้ำยัง) และมีลำห้วยอีกหลายสาย เห็นว่าเหมาะแก่การทำมาหากิน และกุดน้ำที่พบมีใบเสมา แกะสลักเป็นลาย จึงถือเอานิมิตหมายอันนี้ ตั้งเป็นชื่อบ้านว่า กุดสิมนารายณ์ ในปี พ.ศ.๒๓๘๘  พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้า ฯ ให้ยกฐานะบ้านกุดสิมนารายณ์ ขึ้นเป็นเมืองกุดสิมนารายณ์ และแต่งตั้งราชวงศ์กอ เป็นพระธิเบศร์วงศา เจ้าเมืองกุดสิมนารายณ์  คนแรก พระธิเบศร์วงศา (กอ)  เป็นบรรพบุรุษของชาวผู้ไทย จังหวัดกาฬสินธุ์ ถึงแก่กรรมเมื่อปี พ.ศ.๒๔๐๕ จากหนังสือ : วัฒนธรรม […]

พระราษฎรบริหาร (เกษ)

พระราษฎรบริหาร (เกษ) เป็นบุตรท้าวโคตร ซึ่งเป็นราชวงศ์เมืองกาฬสินธุ์ เดิมท้าวเกษ เป็นราชวงศ์เมืองกาฬสินธุ์ ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.๒๔๐๙  ท้าวเกษได้กราบทูลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขอแยกเมืองไปตั้งตั้งเมืองใหม่ ณ ริมลำน้ำปาว ทางทิศใต้ของเมืองกาฬสินธุ์ ได้รับพระบรมราชานุญาตให้ตั้งเมืองขึ้น ชื่อว่าเมืองกระมาลาไสย (กมลาไสย)  และได้โปรดเกล้า ฯ ให้ราชวงศ์เกษ เป็นพระราษฎรบริหาร เจ้าเมืองกมลาไสยคนแรก มีเมืองบริวารหลายเมือง เช่น เมืองสหัสขันธ์ และเมืองกุดสิมนารายณ์ จากหนังสือ : วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญาจังหวัดกาฬสินธุ์

พระอรรถเปศลสรวดี

พระอรรถ เปศลสรวดี (เจริญ ทรัพยสาร) เกิดเมื่อปี พ.ศ.๒๔๒๒  เป็นชาวกรุงเทพ ฯ ได้ดำรงตำแหน่งข้าหลวงประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ คนที่ ๑๗  เมื่อกาฬสินธุ์ถูกยุบเป็นอำเภอ ขึ้นกับจังหวัดมหาสารคาม  ท่านก็ย้ายไปดำรงตำแหน่งข้าหลวงประจำจังหวัดมหาสารคาม  ในเวลาต่อมาได้ลาออกจากราชการกลับมาใช้ชีวิตอยู่ที่กาฬสินธุ์อีกครั้ง  จนถึงแก่อนิจกรรม เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๑  รวมอายุได้ ๗๘ ปี พระอรรถ เปศลสรวดี ขณะที่ดำรงตำแหน่งข้าหลวงประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ ได้พัฒนาสร้างคุณประโยชน์ นำความเจริญมาสู่จังหวัดกาฬสินธุ์เป็นอันมากมาย ซึ่งพอประมวลได้ดังนี้เป็นผู้ริเริ่มให้สร้างสุขศาลาเป็นครั้งแรกสร้างโรงเรียนประจำจังหวัดตัดถนนหนทางหลายสายสร้างสะพานเสิงปักดอก ซึ่งเป็นสะพานไม้ที่ยาวที่สุดของภาคอีสาน ยาวประมาณ ๑ กิโลเมตร ในการก่อสร้างถาวรวัตถุต่าง ๆ แทบจะไม่ได้ใช้งบประมาณของทางราชการ แต่ได้ใช้วิธีขอร้องจากกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และชาวเมืองทั้งหลายให้ช่วยกันสนับสนุน จากหนังสือ : วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญาจังหวัดกาฬสินธุ์

พระยาไชยสุนทร

พระยาไชยสุนทร (ท้าวโสมพะมิต) เกิดเมื่อประมาณ ปี พ.ศ.๒๒๗๕  บิดาเป็นโอรสของพระเจ้าไชยองค์เว้ มารดาเป็นหลานสาวของเจ้าผ้าขาว รับราชการในราชสำนักนครเวียงจันทน์ จนได้เป็นพญาโสมพะมิต เมื่อปี พ.ศ.๒๓๒๐  พญาโสมพะมิตและอุปฮาดเมืองแสนฆ้องโปง เมืองแสนหน้าง้ำ ได้เกิดความความขัดแยังกับพระศิริบุญสาร ผู้ครองนครเวียงจันทน์ จึงรวบรวมผู้คนเป็นสมัครพรรคพวกประมาณหนึ่งหมื่นคน เดินทางข้ามแม่น้ำโขงมาตั้งชุมชนที่บ้านผ้าขาว บ้านพันนา  บริเวณพระธาตุเชิงชุม ในจังหวัดสกลนคร ปัจจุบัน เจ้าศิริบุญสารยกกองทัพติดตามมา เพื่อนำผู้คนเหล่านี้กลับเวียงจันทน์ ท้าวโสมพะมิต จึงได้พาผู้ครอพยพข้ามสันเขาภูพาน ลงมาทางใต้มาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านกลางหมื่นได้ปีเศษ แล้วจึงได้อพยพไปตั้งบ้านเมืองที่แก่งสำโรง  ดงสงเปือย ริมฝั่งลำน้ำปาว เมื่อปี พ.ศ.๒๓๒๕ ในปี พ.ศ.๒๓๒๖ ท้าวโสมพะมิต ได้เดินทางเข้ากรุงเทพ ฯ ได้เฝ้าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ขอพระราชทานนามเมือง และได้รับโปรดเกล้า ฯ ให้ยกฐานะบ้านแก่งสำโรง ขึ้นเป็นเมืองกาฬสินธุ์ ให้ท้าวโสมพะมิตเป็น พระยาไชยสุนทร เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ คนแรก พระยาไชยสุนทร ปกครองเมืองกาฬสินธุ์ มาจนถึงปี พ.ศ.๒๓๔๕  จึงมอบราชการงานเมืองให้ ท้าวหมาแพง ดูแลแทนต่อไป จากหนังสือ : วัฒนธรรม […]

สภาพทั่วไป

สภาพทั่วไปจังหวัดกาฬสินธุ์           จังหวัดกาฬสินธุ์  ตั้งอยู่บริเวณตอนกลางของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ห่างจากกรุงเทพฯ  ประมาณ  519  กิโลเมตร  มีพื้นที่ 6,947 ตารางกิโลเมตร  หรือประมาณ  4.3  ล้านไร่   อยู่สูงกว่าระดับ  น้ำทะเลปานกลาง  100  –  300  เมตร  ฝนตกเฉลี่ย   1,400  มม./ปี   อุณหภูมิเฉลี่ยต่ำสุด   19    องศาเซลเชียส  และสูงสุด  31.9  องศา เซลเซียส  ภูมิประเทศเป็นป่าไม้  เทือกเขา  และเนินเขา  มีพื้นที่ราบที่ใช้ทางการเกษตรไม่มากนัก  สภาพดินมีศักยภาพทางการเกษตรปานกลาง  ประกอบด้วย  ดินไร่ซึ่งส่วนใหญ่  อยู่ด้านทิศเหนือและทิศตะวันออกของจังหวัด  ดินนาส่วนใหญ่อยู่ทางตอนล่างของจังหวัด  และดินไร่  คละดินนา กระจายทั่วไป  มีดินที่มีปัญหาคือ  ดินเค็มประมาณร้อยละ 10  ของพื้นที่ของจังหวัด  และดินทรายซึ่งอยู่กระจัดกระจายบริเวณซีกตะวันออกของจังหวัด   พื้นที่ถือครองทางการเกษตรมีประมาณ  2.3  ล้านไร่ ร้อยละ  65.2  เป็นที่นา  ร้อยละ  30.4   เป็นที่ไร่  ที่เหลือเป็นไม้ยืนต้นและพืชอื่น          กาฬสินธุ์ มีแหล่งน้ำธรรมชาติที่สำคัญ  ได้แก่  ลำน้ำปาว  ลำน้ำชี   และลำน้ำยัง  และยังมีลำห้วย […]

ตรา สัญลักษณ์ คำขวัญ

เป็นรูปบึงใหญ่ ตฤณชาติ และเมฆพยับฝน หมายถึง สัญลักษณ์ของความชุ่มชื่นและอุดมสมบูรณ์ของภูมิภาค ทิวเขาตรงแนวสุดขอบฟ้าคือแนว กั้นเขตแดนกับจังหวัดใกล้เคียง น้ำในบึงที่มีสีดำ เพื่อให้ตรงกับชื่อของจังหวัดกาฬสินธุ์ ตั้งเป็นเมืองเมื่อ พ.ศ.2336 เพราะมีชาวเมืองเวียงจันทร์อพยพมาตั้งบ้านเรือนอยู่มากที่บ้านสงเปลือยทางฝั่งตะวันออกของริมแม่น้ำปาว จังหวัดกาฬสินธุ์แยกตัวออกจากจังหวัดมหาสารคาม เมื่อ พ.ศ.2490 ใช้ชื่อย่อ กส คำขวัญประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ เมืองฟ้าแดดสงยาง  โปงลางเลิศล้ำ วัฒนธรรมผู้ไทย  ผ้าไหมแพรวา ผาเสวยภูพาน  มหาธารลำปาว ไดโนเสาร์สัตว์โลกล้านปี

ผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์

นายสมศักดิ์ สุวรรณสุจริตผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ นายสมศักดิ์ สุวรรณสุจริต     เป็นข้าราชการพลเรือนสามัญระดับ 10 ชื่อ – สกุล นายสมศักดิ์ สุวรรณสุจริตตำแหน่งปัจจุบัน ผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์วุฒิการศึกษา – ศศ.บ.(รัฐศาสตร์) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่– พบ.ม.(รัฐประศาสนศาสตร์) สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์– ร.ม. (การปกครอง) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์– ประกาศนียบัตรหลักสูตรการบริหารงานภาครัฐและกฎหมายมหาชน (สถาบันพระปกเกล้า)– ปริญญาบัตรการป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.) รุ่นที่48 (วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร) การศึกษาอบรม – หลักสูตรนายอำเภอ รุ่นที่ 30 (วิทยาลัยการปกครอง กรมการปกครอง)– หลักสูตรนักปกครองระดับสูง รุ่นที่ 32 (วิทยาลัยการปกครอง กรมการปกครอง)– หลักสูตรประกาศนียบัตรชั้นสูงการบริหารงานภาครัฐและกฎหมายมหาชน รุ่นที่ 2 (สถาบันพระปกเกล้า)– หลักสูตรการบริหารและพัฒนานักบริหาร (Graduate Research Institute of Policy Studies, Japan)– หลักสูตรการฝึกอบรมผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูงภาครัฐ ประวัติรับราชการ – เจ้าหน้าที่วิเคราะห์งานบุคคล 3 สำนักงาน ก.พ. (2521)– ปลัดอำเภอ […]

กลองกิ่งหรือกลองเส็ง

ไม่ทราบว่ากลองกิ่งมีมาแต่เมื่อใด แต่จะนำมาใช้แห่ในบุญเดือนหก (บุญบั้งไฟ) หลังจากเสร็จแห่ก็นำมาเส็งกลองกัน (ตีแข่งกัน)กลองกิ่งทำจากไม้ประดู่แดง ทำเป็นรูปทรงกระบอกกลวง ด้านหน้ากลองกว้างประมาณ ๔๐ เซนติเมตร ด้านล่างกลอง (ก้นกลอง) กว้างประมาณ ๓๐ เซนติเมตร มีความสูงประมาณเท่าครึ่งของความกว้างหน้ากลอง หุ้มด้วยแผ่นหนังทั้งด้านหน้า และด้านล่างดึงเข้าหากันโดยใช้หนังเรียกว่าหนังชักและหนังหูกลอง ข้างกลองห่างจากหน้ากลองประมาณ ๒๐ เซนติเมตร เจาะเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนาด ๑๐ x ๑๕ เซนติเมตร เรียกว่า รูแพ เพื่อเป็นการระบายเสียงเวลาตี ข้างในกลองเหนือรูแพจะเป็นปุ่ม เรียกว่า ลิ้นกลอง เพื่อทำหน้าที่ปรับระดับเสียงของกลอง การขุดกลอง  ก่อนลงมือขุดกลอง ช่างต้องเลือกต้นไม้ที่มีลักษณะของเซลส์ไม้ตรง ไม่คู้หรือมีตา มีเส้นผ่าศูนย์กลางของแกนไม้ ประมาณ ๕๐ เซนติเมตร สูงประมาณ ๑ เมตร จำนวนสองท่อน เครื่องมือที่ใช้ขุดได้แก่ขวาน สิ่ว สว่าน เสียม กบ และง่อง โดยขุดตรงกลางขอนไม้ให้กลองเป็นโพรง มีความหนาบางตามความต้องการของช่าง การทำหนังหน้ากลอง  เดินนิยมทำจากหนังวัว ปัจจุบันนิยมใช้หนังควาย เพราะเหนียวและทนทานกว่า […]